ประวัติเทศบาลตำบลสังคม
ชุมชนเดิมอพยพมาจากบ้านปอแตน บ้านแก่นท้าว บ้านสารคาม ประเทศลาว โดยมาตั้งเป็น 3 ชุมชนได้แก่ บ้านม่วง บ้านสังคม บ้านแก้งไก่ เดิมขึ้นกับอำเภอท่าบ่อ ต่อมาปี พ.ศ.2510 ได้รับการจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอและปี พ.ศ.2514 ได้รับการจัดตั้งเป็นอำเภอและวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2516 ได้ประกาศจัดตั้งสุขาภิบาลสังคม ขึ้นและได้รับการยกฐานะจากสุขาภิบาลเป็นเทศบาล เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542
อาณาเขตของเทศบาลตำบลสังคม
เทศบาลตำบลสังคม ตั้งอยู่ หมู่ที่ 1 ตำบลสังคม อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดหนองคาย ห่างจากตัวจังหวัดหนองคายประมาณ 95 กิโลเมตร ตั้งอยู่ที่ค่าพิกัดระบบ UTM1999566 และ 48 Q 0210719 มีพื้นที่เขตเทศบาลประมาณ 2.10 ตารางกิโลเมตร เทศบาลตำบลสังคมอยู่ในเขตการปกครองอำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย ประกอบขึ้นด้วยพื้นที่ในเขตการปกครองของตำบล 2 ตำบลประกอบด้วย ตำบลสังคม และตำบลแก้งไก่ ในเขตเทศบาลตำบลสังคมประกอบด้วยชุมชน/หมู่บ้านจำนวน 4 ชุมชน ได้แก่ บ้านสังคม หมู่ที่ 1 และบ้านสังคม หมู่ที่ 2 ตำบลสังคม อำเภอสังคม จังหวัดหนองคายบ้านแก้งไก่ หมู่ที่ 3 และบ้านเจื้อง หมู่ที่ 4 ตำบลแก้งไก่ อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย
เทศบาลตำบลสังคมประกอบด้วย ประชากรจำนวน 3,488 คน แยกเป็นชาย 1,736 คน,หญิง 1,752 คน จำนวนครัวเรือน 1,133 ครัวเรือน แยกตามชุมชนดังนี้
บ้านสังคมหมู่ที่1ประชากรชายจำนวน 339 คน ประชากรหญิงจำนวน 319 คน จำนวนครัวเรือน 209 ครัวเรือน
บ้านสังคมหมู่ที่2ประชากรชายจำนวน 538 คน ประชากรหญิงจำนวน 563 คน จำนวนครัวเรือน 302 ครัวเรือน
บ้านแก้งไก่หมู่ที่3ประชากรชายจำนวน 328 คน ประชากรหญิงจำนวน 334 คน จำนวนครัวเรือน 274 ครัวเรือน
บ้านเจื้อง หมู่ที่4ประชากรชายจำนวน 531 คน ประชากรหญิงจำนวน 536 คน จำนวนครัวเรือน 348 ครัวเรือน
เทศบาลตำบลสังคม มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ แม่น้ำโขง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลผาตั้ง
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลสังคม
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลแก้งไก่
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานเทศบาลตำบลสังคม อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย
1. ด้านกายภาพ
ประวัติความเป็นมาของเทศบาลตำบลสังคม ชุมชนเดิมอพยพมาจากบ้านปอแตน บ้านแก่นท้าว บ้านสารคาม ประเทศลาว โดยมาตั้งเป็น 3 ชุมชนได้แก่ บ้านม่วง บ้านสังคม บ้านแก้งไก่ เดิมขึ้นกับอำเภอ ท่าบ่อ ต่อมาปี พ.ศ.2510 ได้รับการจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอและปี พ.ศ.2514 ได้รับการจัดตั้งเป็นอำเภอและวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2516 ได้ประกาศจัดตั้งสุขาภิบาลสังคมขึ้นและได้รับการยกฐานะจากสุขาภิบาลเป็นเทศบาล เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542
1.1 ที่ตั้งและอาณาเขต
เทศบาลตำบลสังคมตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลสังคม อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดหนองคายห่างจากตัวจังหวัดหนองคายประมาณ95กิโลเมตรตั้งอยู่ที่ค่าพิกัดระบ UTM1999566 และ48Q 0210719 มีพื้นที่เขตเทศบาลประมาณ 2.10 ตารางกิโลเมตร
พื้นที่ส่วนใหญ่ภายในเขตเทศบาลฯเป็นที่ตั้งของบ้านเรือนและอาคารพาณิชย์ หน่วยงานส่วนราชการต่างๆ ตลอดจนร้านค้าส่งร้านค้าปลีก ร้านขายวัสดุก่อสร้าง เครื่องเขียน แบบพิมพ์ต่างๆ ร้านค้าการเกษตรและสินค้าเบ็ดเตล็ดทั่วไปเป็นต้น
อาณาเขตของเทศบาลตำบลสังคม
ซึ่งเป็นที่ตั้งของเทศบาลตำบลสังคม มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ แม่น้ำโขง ค่าพิกัด 48Q 0212186 UTM 1998123
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลแก้งไก่ ค่าพิกัด 48Q 0211196 UTM 1998992
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลผาตั้ง ค่าพิกัด 48Q 0213746 UTM 1997740
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลสังคม ค่าพิกัด 48Q 0210742 UTM 1999064
1.2 สภาพภูมิประเทศ
ภูมิประเทศโดยส่วนใหญ่เป็นที่ลุ่มสลับที่ดอน มีภูเขาล้อมรอบลาดเอียงลงแม่น้ำโขง ทางด้านทิศตะวันออกและทิศเหนือ ทำให้พื้นที่ตรงกลางเป็นแอ่งต่ำระบายน้ำไม่ค่อยดี ทำให้เกิดน้ำท่วมขังในช่วง เดือนสิงหาคม – เดือนกันยายน ของทุกปี
1.3 สภาพภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศ แบ่งออกเป็น 3 ฤดูกาล
ฤดูร้อน เริ่มประมาณกลางเดือน กุมภาพันธ์ ไปจนถึงเดือนพฤษภาคมภูมิอากาศแห้งแล้งมากโดยเฉพาะในช่วงเดือน เมษายน มีอุณหภูมิสูงเฉลี่ยประมาณ 42 องศาเซลเซียส
ฤดูฝน เริ่มประมาณเดือนพฤษภาคม หรือต้นเดือนมิถุนายนไปสิ้นสุดเดือนตุลาคม ฝนที่ตกมากในพื้นที่ส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากพายุดีเปรสชั่นซึ่งเคลื่อนมาจากทะเลจีนใต้ทางอ่าวตังเกี๋ย ผ่านเวียดนามเข้ามาในภาคอีสาน ฝนตกมากที่สุดในเดือนกันยายน
ฤดูหนาว เริ่มประมาณเดือนตุลาคม ไปสิ้นสุดเดือนกุมภาพันธ์ โดยอุณหภูมิเฉลี่ยของเดือน ที่หนาวที่สุด คือ เดือนธันวาคม ถึง มกราคม เฉลี่ยประมาณ 10 องศาเซลเซียส
1.4 ลักษณะของดิน
ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่มสลับที่ดอน สภาพดินโดยทั่วไปเป็นดินร่วนปนดินทราย เนื่องจากมีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ บริเวณโดยรอบของเขตเทศบาลตำบลสังคมจึงเหมาะสำหรับทำการเกษตร เช่น ทำไร่ข้าวโพด ทำนา ทำสวนยางพารา ไร่สับปะรด กล้วย
1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ
มีแม่น้ำไหลผ่าน 1 สายคือ แม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำสายหลักที่ประชาชนในเขตอำเภอสังคม ใช้เป็นแหล่งอาหารและใช้ในการอุปโภคบริโภคตลอดปี ส่วนลำห้วยมีทั้งหมด 4 แห่ง คือ ลำห้วยหูหลิง ลำห้วยจาน ลำห้วยน้ำโสมและลำห้วยค้อ แหล่งกักเก็บน้ำประกอบด้วย หนองบัว มีพื้นที่กักเก็บน้ำ ประมาณ 2,000 ลบ.ม. และหนองเทามีพื้นที่กักเก็บน้ำประมาณ 4,400 ลบ.ม.
1.6 ลักษณะของไม้และป่าไม้
พื้นที่เป็นป่าเขาซึ่งเป็นป่าธรรมชาติ ลักษณะพืชพันธุ์ธรรมชาติโดยทั่วไป มีลักษณะเป็นป่าไม้เต็งรังป่าไม้เบญจพรรณและป่าโป่งแบบป่าไม้ผลัดใบ
2. ด้านการเมือง/การปกครอง
2.1 เขตการปกครองเทศบาลตำบลสังคม
เทศบาลตำบลสังคมอยู่ในเขตการปกครองอำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย ประกอบขึ้นด้วยพื้นที่ในเขตการปกครองของตำบล 2 ตำบลประกอบด้วย ตำบลสังคมและตำบลแก้งไก่ใ นเขตเทศบาลตำบลสังคมประกอบด้วยชุมชน/หมู่บ้านจำนวน 4 ชุมชน ได้แก่บ้านสังคม หมู่ที่ 1 และบ้านสังคม หมู่ที่ 2 ตำบลสังคม อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย บ้านแก้งไก่ หมู่ที่ 3 และบ้านเจื้อง หมู่ที่ 4 ตำบลแก้งไก่ อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย
2.2ด้านการเมือง/การปกครอง
การบริหารดือนพฤษภาคมาว ปลูกกล้วย ยางพารา มะเขือเทศ มันสำปะหลัง สับปะรดและลำใย
เทศบาลเป็นการจัดรูปแบบการปกครองท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง ที่ต้องการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองและการพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง โดยให้ราษฎรในท้องถิ่นเลือกตั้งคณะบุคคล ในท้องถิ่นมาคณะหนึ่งตามกฎหมายเพื่อเป็นตัวแทนของประชาชนในท้องถิ่น คือ สมาชิกสภาเทศบาล
องค์กรเทศบาล ประกอบด้วยคณะผู้บริหารและสภาเทศบาล
เทศบาลตำบลสังคม มีการแบ่งส่วนราชการบริหารของเทศบาล ดังนี้
1. สำนักปลัดเทศบาล 4. กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
2. กองคลัง 5. กองสวัสดิการสังคม
3. กองช่าง 6. กองการศึกษา
3. ประชากร
ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร
เทศบาลตำบลสังคมประกอบด้วย ประชากรจำนวน 3,382 คน แยกเป็นชาย 1,693 คน หญิง 1,689 คน จำนวนครัวเรือน 1,313 ครัวเรือน แยกตามชุมชนดังนี้
บ้านสังคม หมู่ที่ 1 ประชากรชาย จำนวน 332 คน ประชากรหญิง จำนวน 324 คน จำนวนครัวเรือน 237 ครัวเรือน
บ้านสังคม หมู่ที่ 2 ประชากรชาย จำนวน 523 คน ประชากรหญิง จำนวน 540 คน จำนวนครัวเรือน 327 ครัวเรือน
บ้านแก้งไก่ หมู่ที่ 3 ประชากรชายจำนวน 336 คน ประชากรหญิง จำนวน 312 คน จำนวนครัวเรือน 331 ครัวเรือน
บ้านเจื้อง หมู่ที่ 4 ประชากรชาย จำนวน 501 คน ประชากรหญิง จำนวน 508 คน จำนวนครัวเรือน 416 ครัวเรือน
(ที่มา : ข้อมูล ณ วันที่ 30 เมษายน 2559 สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง พื้นที่ในระดับ ท้องถิ่นเทศบาลตำบลสังคม)
ประกอบด้วยคุ้มต่างๆ จำนวน 19 คุ้ม
4.สภาพทางสังคม
4.1 การศึกษา
การศึกษาในเขตเทศบาลตำบลสังคมมีสถานศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน 4 แห่ง แยกเป็น
- ระดับก่อนวัยเรียน จำนวน 3 แห่ง
- ระดับก่อนวัยเรียนโรงเรียนอนุบาลสังคมจำนวน 2 ห้องเรียน
- ระดับก่อนวัยเรียนโรงเรียนชุมชนประชาสงเคราะห์ 4 จำนวน 2 ห้องเรียน
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลตำบลสังคม จำนวน 1 แห่ง 2 ห้องเรียน
- ระดับประถมศึกษาจำนวน 2 แห่ง (ร.ร.อนุบาลสังคมและ ร.ร.ชุมชนประชาสงเคราะห์ 4)
- ศูนย์บริการการศึกษานอกระบบและศึกษาตามอัธยาศัย จำนวน 1 แห่ง
การจัดการศึกษา
เทศบาลตำบลสังคม ได้ให้ความสำคัญในการจัดการศึกษาจึงส่งเสริมการบริการแก่ประชาชนในเขตเทศบาล ดังนี้
การศึกษาในระบบ
เทศบาลตำบลสังคม ได้ดำเนินการจัดให้มีสถานศึกษาในระดับขั้นพื้นฐาน ตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงระดับประถมศึกษา ระดับก่อนวัยเรียนครอบคลุมทั้งเทศบาลจำนวน 3 ศูนย์ คือศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลสังคมซึ่งตั้งอยู่ที่ชั้นล่างอาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา กองการศึกษาเทศบาลตำบลสังคม ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนอนุบาลสังคม ซึ่งมีการจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนชุมชนประชาสงเคราะห์ 4 ซึ่งมีการจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
การศึกษานอกระบบ
ในเขตเทศบาลตำบลสังคม มีศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ๑ แห่งและเทศบาลฯได้ส่งเสริมการสร้างอาชีพในเขตเทศบาลเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างอาชีพ สร้างรายได้โดยจัดฝึกอบรมอาชีพประเภทต่างๆ เช่น การทำผลิตภัณฑ์จาก กล้วย การจัดทำที่นอนปิกนิก การตัดเย็บเสื้อผ้าการเลี้ยงปลากระชัง การเพาะเลี้ยงเห็ดฟาง การเลี้ยงสุกร รวมถึงการฝึกอบรมการนวดแผนไทย
การศึกษาตามอัธยาศัย
เทศบาลตำบลสังคม ได้ส่งเสริมในการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยตามความสมัครใจ ความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส สังคมและสิ่งแวดล้อมแต่ละบุคคล เช่น ให้บริการห้องสมุดประชาชน ศูนย์อินเตอร์เน็ตเทศบาล ศูนย์ข้อมูลข่าวสารเทศบาลตำบลสังคม ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำชุมชน/หมู่บ้าน เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลข่าวสาร ทันข่าว ทันเหตุการณ์บ้านเมือง
๔.๒ การบริการด้านสาธารณสุข
เทศบาลตำบลสังคม มีศูนย์บริการสาธารณสุขมูลฐาน ตั้งอยู่ที่กองสาธารณสุข เทศบาลตำบลสังคม และศูนย์บริการสาธารณสุขมูลฐานประจำชุมชนทั้ง 4 ชุมชนเป็นสถานที่ให้บริการประชาชนทั่วไป ซึ่งเป็นการปฐมพยาบาลเบื้องต้น สำหรับแจกจ่ายยาสามัญประจำบ้าน และยาสำหรับการรักษาพยาบาลเบื้องต้นส่งเสริมพร้อมให้คำแนะนำในการวางแผนครอบครัว การคุมกำเนิดและจ่ายยาเม็ดคุมกำเนิด แจกถุงยางอนามัย ป้องกันและควบคุมโรคระบาดตามฤดูกาล การฉีดวัคซีนป้องกันโรคและการควบคุมสัตว์ ที่เป็นพาหนะนำโรคมาสู่คน เช่น สุนัขบ้า หนู แมลงสาบ ยุง เป็นต้น
การกำจัดขยะมูลฝอย
รถยนต์เก็บขนขยะมี 2 คัน ขนาด 6 ล้อ บรรจุขยะได้ 5 ตัน/คัน เก็บขนได้ 3.5-4 ตัน/วัน โดยในแต่ละวัน กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ได้เก็บขนขยะวันละ 2 รอบ มีปริมาณขยะเฉลี่ย 2.8–3.2 ตัน/วัน กำจัดโดยฝังกลบตามหลักสุขาภิบาล ณ หลุมฝังกลบขยะมูลฝอยตามหลักสุขาภิบาล เทศบาลตำบลศรีเชียงใหม่ ตั้งอยู่ในเขตตำบลบ้านหม้อ อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย ห่างจากเทศบาลตำบลสังคม ประมาณ 45 กิโลเมตร คาดว่าจะสามารถกำจัดขยะได้อีกประมาณ 10 ปี
การระบายน้ำและการบำบัดน้ำเสีย
ก.การระบายน้ำ เขตเทศบาลตำบลสังคมได้จัดสร้างท่อระบายน้ำ และรางระบายน้ำภายในเขตชุมชน เพื่อให้สามารถระบายน้ำลงสู่แม่น้ำโขงและลำห้วยสาขาต่างๆ ซึ่งในขณะนี้เทศบาลตำบลสังคมได้ดำเนินการก่อสร้างรางระบายน้ำภายในเขตชุมชนเกือบครบทุกชุมชนแล้วยังคงเหลือชุมชนสังคมหมู่ที่2 ตามถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 0211 บางช่วงมีน้ำท่วมขังในช่วงฤดูฝนทำให้การสัญจรไปมาไม่สะดวก
ข.ระบบบำบัดน้ำเสียเทศบาลตำบลสังคมยังไม่มีการดำเนินการด้านระบบบำบัดน้ำเสียคงมีเพียงการจ้างบุคคลภายนอก ศึกษาออกแบบรายละเอียดระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสีย ซึ่งได้มีการดำเนินการศึกษาออกแบบรายละเอียดเสร็จเรียบร้อยแล้ว และอยู่ในระหว่างการขอรับเงินสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการก่อสร้างระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสียตามผลการศึกษาและออกแบบ
การดับเพลิง หรือการบรรเทาสาธารณภัย
มีอัตรากำลังพนักงานดับเพลิงจำนวน 5 คน รถยนต์ดับเพลิง จำนวน 1 คันบรรจุน้ำได้ 2,000 ลบ.ม.รถยนต์บรรทุกน้ำ จำนวน 1 คัน บรรจุน้ำได้ 4,000 ลบ.ม รถยนต์บรรทุกเครื่องยนต์ดับเพลิงชนิดหาบหาม จำนวน 1 คันและรถยนต์เคลื่อนที่เร็ว จำนวน 1 คัน เรือท้องแบนสำหรับติดตั้งเครื่องดับเพลิงชนิดหาบหาม จำนวน 3 ลำ อาสาสมัครป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจำนวน 180 คน การฝึกซ้อมบรรเทาสาธารณภัยในรอบปีที่ผ่านมาการปฏิบัติหน้าที่ประมาณ 4 ครั้ง
โรงฆ่าสัตว์
ตั้งอยู่ข้างเมรุบ้านเจื้อง หมู่ 4 ตำบลแก้งไก่ ฆ่าโคและสุกร ซึ่งในปัจจุบันได้มีการปรับปรุงก่อสร้างโรงฆ่าสัตว์ขึ้นใหม่ และได้ใช้สถานที่เดิมในการก่อสร้างปรับปรุง โดยใช้งบประมาณสนับสนุนจากโครงการไทยเข้มแข็งของรัฐบาลให้บริการแก่ผู้ประกอบการฆ่าหมูจำนวน 3 ราย เฉลี่ยฆ่าวันละ 4-5 ตัว/วัน ผู้ประกอบการฆ่าโคกระบือ 1ราย เฉลี่ยฆ่าวันละ 1 ตัว/วัน มีพนักงานเทศบาล ดูแล 2 คน เปิดให้บริการตั้งแต่ปี พ.ศ.2554 ได้รับการตรวจอนุญาตโดยคณะกรรมการระดับจังหวัด เป็นประจำทุกปี ปัจจุบันอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี
4.3 อาชญากรรม
-
4.4 ยาเสพติด
ในเขตเทศบาลตำบลสังคมมีปัญหายาเสพติดแพร่ระบาดเข้ามาในพื้นที่พอสมควร เนื่องจากพื้นที่ติดแม่น้ำโขงซึ่งอาจมีการลักลอบนำเข้ายาเสพติดมาจากประเทศเพื่อนบ้านซึ่งพื้นที่อยู่ในความรับผิดชอบของสถานีตำรวจภูธรสังคม คอยสอดส่องดูแลและหาเบาะแสผู้กระทำผิดอยู่เป็นประจำ ประกอบกับแต่ละชุมชนมีอาสาสมัครตำรวจบ้าน ชุดรักษาความสงบหมู่บ้าน คอยเป็นกำลังสำคัญในการแจ้งเบาะแสและข้อมูลข่าวสารให้กับทางราชการทำให้ปัญหายาเสพติดเบาบางลงตามลำดับ
4.5 การสังคมสงเคราะห์
เทศบาลได้ดำเนินการด้านสังคมสงเคราะห์ ดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยเอดส์ รับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ประสานการรับ บัตรผู้พิการ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้พิการ และดูแลช่วยเหลือประชนชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากภัยพิบัติต่างๆที่เกิดขึ้นได้ทันท่วงที
5. ระบบบริการพื้นฐาน
5.1 การคมนาคมขนส่ง
เส้นทางการจราจร คมนาคมขนส่งที่อยู่ในความรับผิดชอบของเทศบาลตำบลสังคมคือ ถนนสายหลักมีความยาว 8 ก.ม. ถนนสายรองมีความยาว 27,417.3 ก.ม.โดยเป็นถนนลาดยางมีความยาว463 ก.ม.และถนนลาดยางยาว 25,777.3 ก.ม.
ถนนในเขตเทศบาลตำบลสังคมมีจำนวน 68 สาย แยกเป็น
ถนนลาดยาง 2 สาย
ถนนคอนกรีต 58 สาย
ถนนลูกรัง 8 สาย
5.2 การไฟฟ้า
อำเภอสังคมมีการบริการไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสาขาอำเภอสังคม โดยปัจจุบันมีไฟฟ้าใช้ครบทุกหมู่บ้าน จำนวน 1,313 ครัวเรือน
5.3 การประปา
อำเภอสังคมมีการบริการน้ำประปาจากการประปาภูมิภาคสาขาอำเภอศรีเชียงใหม่ผู้ใช้น้ำประปาทั้งสิ้น 1,313 ครัวเรือนโดยแหล่งน้ำน้ำดิบของการประปามาจากแม่น้ำโขง
5.4ไปรษณีย์หรือการสื่อสารขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์
มีที่ทำการไปรษณีย์ให้บริการประชาชน จำนวน 1 แห่ง
5.5โทรศัพท์
ในเขตเทศบาลตำบลสังคม มีการสื่อสารที่สำคัญ ได้แก่ ทางโทรศัพท์บ้านและโทรศัพท์เคลื่อนที่ และมีเครือข่ายของโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ AIS, DTAC, TRUE
6. ระบบเศรษฐกิจ
6.1 การเกษตร
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทำการเกษตร โดยมีพื้นที่ทำการเกษตร จำนวน 1,220 ไร่ ซึ่งพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของอำเภอสังคม ได้แก่ ทำไร่ข้าวโพด ทำนา ทำสวนยางพารา ไร่สับปะรด กล้วย มันสำปะหลัง เป็นต้น
6.2 การประมง
การทำประมงโดยมีทั้งการเลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อดินบ่อซีเมนต์ การจับสัตว์น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติการจับสัตว์น้ำในแม่น้ำโขง และการจับสัตว์น้ำในแหล่งน้ำอื่นๆ
6.3 การปศุสัตว์ ปศุสัตว์ที่มีมูลค่าผลผลิตมากที่สุด คือ ไก่ไข่ สุกร เป็ดเนื้อ เป็นต้น
6.4 การท่องเที่ยว
แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ/นิเวศ
1. สวนรุกชาติน้ำตกธารทอง อยู่ในเขตบ้านผาตั้ง หมู่ที่ 1 ตำบลผาตั้ง น้ำตกธารทองมีลักษณะเป็นธารน้ำไหลไปตามลานหินมีแอ่งน้ำให้เล่นน้ำได้ก่อนจะลดระดับเกิดเป็นชั้นน้ำตกเล็กๆเป็นระยะลด หลั่นกันไปประมาณ 30 เมตรและไหลลงสู่ลำน้ำโขงในที่สุดช่วงเวลาที่มีน้ำมากเหมาะแก่การมาเที่ยวชมคือระหว่าง เดือนมิถุนายน-ตุลาคม บริเวณโดยรอบเป็นสวนรุกชาติมีป่าไม้ขึ้นอยู่หนาแน่นการเดินทางใช้เส้นทางหนองคาย-ศรีเชียงใหม่-สังคม(ทางหลวงหมายเลข211)ผ่านบ้านไทยเจริญแล้วต่อไปบ้านผาตั้ง(ทางหลวงหมายเลข 2186)บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 74 ก่อนถึงตัว อำเภอประมาณ 11 กิโลเมตร น้ำตกธารทองจะอยู่ริมทางด้านขวามือ ส่วนด้านซ้ายมือของถนนเป็น บริเวณลานจอดรถ
2. น้ำตกธารทิพย์ อยู่ในเขตบ้านตาดเสริม ตำบลบ้านม่วง เป็นน้ำตกที่สูงและสวยงามท่ามกลางป่าเขียวขจี แบ่งออกเป็น 3 ชั้น ด้านล่างเป็นน้ำตกขั้นแรกสูงประมาณ 30 เมตร ไหลจากหน้าผาเป็นสายยาว สีขาวสู่แอ่งน้ำเบื้องล่างชั้นที่2สูงประมาณ100 เมตรต้องปีนขึ้นไปตามเส้นทางที่ทำไว้และชั้นที่ 3 สูงประมาณ 70 เมตร มีน้ำไหลอยู่ตลอดปีและจะมีน้ำมากในฤดูฝน การเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 211 ถึงบริเวณกิโลเมตรที่ 97- 98 มีป้ายบอกทางเลี้ยวซ้ายเข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร (ห่างจากอำเภอสังคมไปประมาณ 9 กิโลเมตร) เมื่อถึงลานจอดรถเดินเท้าไปอีก 100 เมตร
3. ถ้ำศรีมงคล หรือวัดถ้ำดินเพียง เป็นสถานที่สำคัญซึ่งเป็นที่มาของชื่อวัดถ้ำดินเพียง มีหลายคนได้เล่าขานกันมาว่าเป็นถ้ำที่พระธุดงค์ประเทศลาว เดินทางข้ามมาโดยไม่ได้ผ่านมาทางเรือแต่เป็นการเดินทางผ่านถ้ำนี้ ซึ่งผู้ที่จะเห็นเส้นทางภายในถ้ำต้องเป็นผู้บ้าเพ็ญศีลภาวนาหรือเป็นพระอภิญญา ลักษณะถ้ำดินเพียงนี้คล้ายเมืองบาดาลของพญานาค ตามความเชื่อของชาวบ้าน ภายในถ้ำจะมีความชื้นและมีน้ำไหลตลอดปี มีก้อนหินเป็นแท่งตั้งวางอย่างจงใจ บางก้อนเป็นโลงศพ มีส่วนเว้าโค้งของหินภายในถ้ำที่สวยงาม การเดินทางเข้าถ้ำควรมีผู้นำทางเพราะถ้าไปเองอาจทำให้หลงทางและเป็นอันตรายได้ การเดินทางจากจังหวัดหนองคายไปตามทางหลวงหมายเลข 211 เรียบแม่น้ำโขง ระยะทางประมาณ 96 กิโลเมตร ถึงบ้านดงต้อง ตำบลผาตั้ง จะมีป้ายทางซ้ายมือบอกเส้นทางไปวัดถ้ำศรีมงคล 14 กิโลเมตร
4. จุดชมวิววัดผาตากเสื้อ เป็นวัดที่มีทิวทัศน์สวยงามมาก อยู่บนเทือกเขาสูง มองจากบนผาลงมาเห็นความเป็นอยู่ของชาวไทยและลาว ภายในวัดมีธรรมชาติที่สมบูรณ์ สามารถเดินทางเลาะตามหน้าผาเพื่อชมธรรมชาติและทิวทัศน์ที่สวยงามได้และมี สกายวอล์ค(sky walk)แลนด์มาร์คแห่งใหม่ของประเทศไทยและจังหวัดหนองคายเป็นจุดชมวิวที่จะทำให้เราเห็นทัศนียภาพแบบมุมกว้างของอำเภอสังคมเห็นแม่น้ำโขงยาวเป็นสายพรหมแดนกั้นระหว่างเมืองสังข์ทองและแขวงกำแพงนครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว ซึ่งสกายวอคตั้งอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 500 เมตร ถือว่าเป็นจุดชมวิวของที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งของ จ.หนองคายเลยก็ว่าได้โดยสร้างเป็นรูปเกือกม้ายื่นออกไปทางแม่น้ำโขงพื้นนั้นปูด้วยกระจกใสแทมเพอร์ลามิเนตหนา 4 เซนติเมตร ด้วยการยึดกับเหล็กที่ติดฐานที่เป็นชั้นหินอยู่ด้านล่างส่วนที่เป็นพื้นกระจกใสมีระยะทางทั้งหมด15เมตร(รวมทั้งฝั่งซ้ายและขวาของสกายวอล์ค)มีทางเดินที่ยื่นออกไปบริเวณหน้าผา 6 เมตร เหล็กกันสนิม รับน้ำหนักนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 2500 กิโลกรัม หรือจำกัดที่ประมาณ 15 คน สำหรับสกายวอล์คแห่งนี้ ออกแบบและสร้างโดยสำนักโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดหนองคาย การเดินทางจากจังหวัดหนองคายไปตามทางหลวงหมายเลข211เรียบแม่น้ำโขงระยะทางประมาณ 96 กิโลเมตรถึงบ้านดงต้อง ตำบลผาตั้ง จะมีป้ายทางซ้ายมือบอกเส้นทางไปวัดผาตากเสื้อ 7 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังสามารถเดินทางมาโดยรถประจำทาง บขส.(หนองคาย-เลย)ผ่านอำเภอสังคม ใช้เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 06.00-16.00 น. และต่อรถสองแถวซึ่งออกวันละ 1 เที่ยวเท่านั้น เพื่อเข้าไปชมวัดถ้ำดินเพียง และวัดผาตากเสื้อ
5. วัดภูนกกระบา ภูนกกระบาเป็นแนวเทือกเขาที่ทอดยาวจากจังหวัดอุดรธานี มาจนถึงอำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย ที่ได้ชื่อนกกระบาเพราะเป็นภูที่มีนกกระบาหรือที่ภาคกลางเรียกว่านกโพระดก อาศัยอยู่เป็นจำนวนมากเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติซึ่งเป็นวัดที่นักท่องเที่ยวขึ้นมาชมธรรมชาติของป่าเขาและภูมิประเทศของพื้นที่ข้างล่างอย่างสบายตา นอกจากนั้นยังมีหอสูงให้ขึ้นชมทิวทัศน์ได้ 360 องศา ภูนกกระบามีลมพัดแรงเย็นสบายตลอดทั้งปี ในช่วงเช้าในฤดูหนาวที่ภูแห่งนี้ยังเป็นจุดชมทะเลหมอกที่สวยงามมากอีกด้วย การเดินทางจากอำเภอสังคมถึงวัดภูกระบาประมาณ 22 กิโลเมตร ห่างจากบ้านดงต้อง 2 กิโลเมตร
6. วัดผาใหญ่วชิรวงศ์ วัดผาใหญ่วชิรวงศ์ ก็เป็นอีกวัดหนึ่งที่มีนักท่องเที่ยวและนักปฏิบัติธรรมมาปฏิบัติธรรมอยู่โดยตลอด เพราะว่าทางวัดมีที่พักและความพร้อมในการดำเนินงานมีสถานที่กว้างขวางทิวทัศน์สวยงาม การเดินทางจากอำเภอสังคมถึงวัดผาใหญ่วชิรวงศ์ประมาณ 2 กิโลเมตรห่างจากบ้านห้วยไซ-งัวประมาณ 3 กิโลเมตร
7. วัดถ้ำเขาคีรีบรรพต (เหมืองทองแดงโบราณ) วัดถ้ำเขาคีรีบรรพต(เหมืองทองแดงโบราณ)สถานที่แห่งนี้เป็นเหมืองทองแดงมาก่อน และเป็นอีกสถานที่แห่งหนึ่งที่น่าแวะเข้ามาเที่ยวชมและศึกษา หาความรู้ เพราะว่าอยู่ไม่ห่างจากหมู่บ้านทางขึ้นสะดวกทิวทัศน์สวยงาม ตั้งอยู่หมู่ 7 บ้านม่วง อำเภอสังคมการเดินทางจากอำเภอสังคมถึงวัดถ้ำเขาคีรีบรรพต (เหมืองทองแดง โบราณ) ประมาณ 25 กิโลเมตร ห่างจากบ้านภูเขาทองประมาณ 1 กิโลเมตร
8.จุดชมทิวทัศน์อ่างปลาบึกจุดชมทิวทัศน์อ่างปลาบึกเป็นสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติที่ประกอบไปด้วยเกาะแก่ง โขดหินและห้อมล้อมไปด้วยภูเขาที่แสนสวยงามอีกแห่งหนึ่ง การเดินทางจากอำเภอสังคมถึงจุดชมทิวทัศน์อ่างปลาบึกประมาณ 30 กิโลเมตร ติดกับบ้านหนอง
9.ทะเลหมอก ภูห้วยอีสัน ภูห้วยอีสันเป็นเนินเขาเตี้ยๆเส้นทางการเกษตรสามารถใช้รถเพื่อการเกษตรขึ้นไปได้โดยใช้เวลาเดินทางจากตีนเขาไปถึงยอดเขาไม่ถึง 10 นาทีและต้องเดินเท้าอีกเล็กน้อยเพื่อหาจุดชมวิวก็จะพบเป็น“ทะเลหมอก”ที่ขาวโพลนเป็นทางยาวสุดลูกหูลูกตาโอบล้อมภูเขาจนเห็นเพียงแค่ ยอดภูเท่านั้นโดยทะเลหมอกที่นี่เป็นการค้นพบแห่งแรกของจังหวัดหนองคาย สำหรับช่วงชมทะเลหมอกเป็นช่วงฤดูหนาวตั้งแต่เวลา 05.30-09.00น. ความหนาแน่นของหมอกขึ้นอยู่กับสภาพอากาศของแต่ละวัน เพราะเป็นเรื่องของธรรมชาติ สำหรับผู้ที่สนใจท่องชมทะเลหมอกและเก็บภาพเป็นที่ระลึก แวะมาสัมผัสความงามได้ที่ภูห้วยอีสัน บ้านม่วง ตำบลบ้านม่วง อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย ใช้เส้นทางถนนสาย 211 เลียบริมฝั่งแม่น้ำโขง อำเภอสังคม อำเภอปากชม จังหวัดเลย ระยะทางจากตัวอำเภอสังคม ประมาณ 17 กิโลเมตรและต้องเดินเท้าเข้าไปถึงจุดชมวิวอีกเล็กน้อย
10.พันโขด แสนไคร้(แกรนด์แคนยอนหนองคาย) ตั้งอยู่บ้านม่วง อำเภอสังคม ดวงตะวันเริ่มทอแสงอ่อนได้เวลาเดินทางล่องเรือเที่ยวชม"พันโขดแสนไคร้" ซึ่งลำน้ำโขงที่ไหลผ่านอำเภอสังคมตามกระแสน้ำแล้วต้นน้ำอยู่ที่ตำบลบ้านม่วงในฤดูแล้งน้ำโขงลดลงมากแล้วจะปรากฏโขดหินขนาดต่างๆขึ้นมีทั้งขนาดเล็กขนาดใหญ่อยู่เต็มไปหมด และตามโขดหินเหล่านี้จะถูกแต่งแต้มประดับประดาไปด้วยต้นไคร้ให้ใบมีสีเขียวสด เหมือนเป็นดังสวนหย่อมที่เกิดจากหินและต้นไคร้ที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมาได้อย่างลงตัวสายน้ำกำลังเปลี่ยนสี ตะวันทอแสงกระทบเนื้อน้ำฉาบสีเหลืองทองเปล่งประกายระยิบระยับตามเกลียวคลื่นเมื่อเรือหาปลาล้ำน้อยตัดผ่านเลยไปเป็นภาพความสวยงามยามเย็นนี้อยู่ที่ "แก่งพาล" เหมาะสำหรับเป็นจุดถ่ายภาพ พร้อมชมวิวพระอาทิตย์ตกได้อย่างสวยงามด้วย
1. การพาณิชย์
1.1 สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงขนาดเล็ก จำนวน 5 แห่ง (ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 1,2,3,4)
1.2 สถานีบริการน้ำมันขนาดใหญ่ จำนวน 1 แห่ง (ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 3)
1.3 สหกรณ์การเกษตร จำนวน 1 แห่ง (ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 1)
1.4 สถานที่รับซื้อผลผลิตทางการเกษตร จำนวน 2 แห่ง (ตั้งอยู่หมู่ที่ 1,2)
1.5 ตลาดนัด จำนวน 3 แห่ง (อยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 2,3)
1.6 รีสอร์ทในพื้นที่ จำนวน 3 แห่ง (อยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 2,3)
1.7 มีโรงสีข้าวขนาดเล็กในพื้นที่ จำนวน 1 แห่ง (ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 1)
2. กลุ่มอาชีพ
2.1 กลุ่มสตรีสหกรณ์การเกษตรสังคม สถานที่ตั้ง 72 บ้านสังคม หมู่ที่ 2
2.2 กลุ่มแม่บ้านเกษตรสังคม สถานที่ตั้ง เลขที่ 91 บ้านสังคม หมู่ที่ 1
2.3 กลุ่มพรมเช็ดเท้า สถานที่ตั้ง เลขที่ 11 บ้านสังคม หมู่ที่ 1
6.6 แรงงาน
เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ในตำบลสังคมประกอบอาชีพเกษตรกรรม แรงงานจะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ แรงงานวัยทำงานในพื้นที่ และแรงงานต่างด้าว ส่วนเยาวชนวัยทำงานในตำบลสังคม เมื่อเรียนจบจะออกไปทำงานนอกพื้นที่ ทำให้แรงงานที่ใช้เป็นแรงงานที่ข้ามมาจาก สปป.ลาว มารับจ้างทั่วไปในพื้นที่ โดยเฉพาะในช่วงฤดูการทำนาและเก็บเกี่ยวผลผลิต
8. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
8.1 การนับถือศาสนา
ประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่ นับถือศาสนาพุทธ ประมาณร้อยละ 99 นับถือศาสนาพุทธ และร้อยละ 1 นับถือศาสนาอื่นๆ สถานที่ประกอบพิธีทางศาสนา รวม 4 แห่ง แยกเป็นวัด 4 แห่ง ได้แก่
1. วัดหายโศก บ้านสังคม หมู่ที่ 1 2. วัดสระปทุม บ้านสังคม หมู่ที่ 2
3. วัดโนนเกษม บ้านเจื้อง หมู่ที่ 4 &nbs